Narasuan King

Amps

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

งานวิจัย พื้นที่สวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช บทนำ

มูลเหตุของสงครามครั้งศึกสุดท้าย พ.ศ.2148

..ครั้งนั้นแผ่นดินพม่าแบ่งเป็น 4 ก๊กด้วยกัน คือ พระเจ้าตองอู พระเจ้าแปร พระเจ้ายะไข่และพระเจ้าอังวะ แต่พระเจ้าสีหสุรมหาธรรมราชาแห่งเมืองอังวะ(ซึ่งเป็น พระราชโอรสของพระเจ้าบุเรงนองอันประสูติแต่พระสนม) กำลังขยายพระราชอำนาจอย่างกว้างขวางในเขต รัฐไทใหญ่ และได้เข้าคุกคามยึด “ เมืองนาย ” ซึ่งเป็น “เมืองลูก”ของเชียงใหม่และเป็นเมืองในขอบขัณฑสีมาของอยุธยา เท่ากับเป็นการ ท้าทายอำนาจของไทยโดยตรง
สมเด็จพระนเรศวรฯทรงอ่านพฤติกรรมของพระเจ้าอังวะได้ทะลุแจ้ง และทรงพิจารณาว่าในอนาคต พระเจ้าอังวะสามารถจะเป็นอันตรายต่อไทยมากกว่าพระเจ้าตองอู เพราะพระเจ้าอังวะมีฐานที่มั่นในเขตที่ควบคุมทรัพยากรไพร่พล ที่อยู่ลึกเข้าไปทางเหนือและทรงตักตวงผลประโยชน์จากการอพยพของประชากรจากภัยสงครามทางใต้ ไปพึ่งพระบารมีพระองค์ แรงดึงดูดของเมืองอังวะอย่างหนึ่งคือคำทำนายที่แพร่สะพัดออกไปว่าพระเจ้าอังวะ จะมีพระราชอำนาจเช่นพระเจ้าบุเรงนองซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์ ในแง่ยุทธศาสตร์แล้วพระเจ้าอังวะ จะสามารถระดมไพร่พลได้มากกว่าก๊กอื่นๆทั้งหมดรวมกัน แม้แต่พระเจ้าแปรและพระเจ้าตองอู จะเป็นพันธมิตรขจัดพระองค์ใน พ.ศ. 2140 ก็ยังทำได้ไม่สำเร็จ.

ดังนั้นสมเด็จพระนเรศวรฯจึงกรีฑาทัพเพื่อยึดคืน “เมืองนาย”และบุกโจมตี “พระเจ้าอังวะ”.
ข้อมูลใหม่พื้นที่สวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
.ชัยยง ไชยศรี.