Narasuan King

Amps

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

ยกย่อง พระบิดาประวัติศาสตร์ไทย และ ปิดท้าย

ยกย่อง พระบิดาประวัติศาสตร์ไทย

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นปราชญ์ของแผ่นดิน ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ไม่ยึดติดกับความคิดเห็นของพระองค์ว่าถูกต้องเสมอไป ดังที่ได้นิพนธ์ไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ดังนี้ …
“ ..ขอให้บรรดาผู้อ่านหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับนี้ จงเข้าใจความประสงค์ของข้าพเจ้าอย่างหนึ่ง ด้วยบรรดาคำอธิบายที่ข้าพเจ้าได้เรียบเรียงไว้ในหนังสือเรื่องนี้ กล่าวตามที่ได้ตรวจพบในหนังสืออื่นบ้าง กล่าวโดยสันนิษฐานของข้าพเจ้าเองบ้าง ข้าพเจ้าเป็นแต่ผู้ศึกษาพงศาวดารคนหนึ่ง จะรู้เรื่องถ้วนถี่รอบคอบหรือรู้ถูกต้องไปหมดไม่ได้..
…อีกประการหนึ่งผู้ศึกษาพงศาวดารมีมากด้วยกัน ความรู้และความเห็นย่อมไม่เหมือนกัน…แห่งใดใครจะเห็นชอบด้วย หรือแห่งใดใครจะคัดค้านด้วยมีหลักฐานซึ่งข้าพเจ้ายังไม่ทราบก็ดี หรือมีความคิดเห็นซึ่งดีกว่าความคิดเห็นของข้าพเจ้าก็ดี ถ้าได้ความรู้ความเห็นของผู้ศึกษาพงศาวดารหลายๆคนด้วยกันมาประกอบ คงจะได้เรื่องราวที่เป็นหลักฐานใกล้ต่อความจริงยิ่งขึ้น เมื่อสำเร็จประโยชน์อย่างนั้นแล้วก็จะสามารถ ที่จะแต่ง”พงศาวดารสยาม” ขึ้นใหม่ ให้มีหนังสือพงศาวดารไทยที่ดีเทียบเทียมกับพงศาวดารอย่างดี ของประเทศอื่นได้ ……”

บรรณานุกรม
กรมศิลปากร (2534) พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1
กรมศิลปากร (2546) รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟาน ฟลีต (วัน วลิต)
กรมแผนที่ทหาร (2526) วารสารแผนที่ ฉบับพิเศษ ครบรอบ 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์
โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร
กองจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัส ร.5 ม.2 12 ก. ใบบอก(เชียงใหม่)พระเจ้าอินทรวิชยานนท์
กราบบังคลทูลเรื่องให้จัดการรักษาเขตแดนตามหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี
ลงวันที่ 8มิถุนายน พ.ศ. 2417
กองจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัส ร.5 ม.58/163 เมืองแหงวิวาทกับเมืองปาย ร.ศ.114
(พ.ศ.2438)
คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักงานนายกรัฐมนตรี (2514) ตำนาน
พื้นเมืองเชียงใหม่
จิตร ภูมิศักดิ์ (2544) ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทาง
สังคมของชื่อชนชาติ
ชาติชาย ร่มสนธ์ (2546) การศึกษาสภาพภูมิศาสตร์ทางโบราณคดีของแหล่งโบราณสถาน
ในอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่
ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จกรมพระยา พระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สำนักพิมพ์
มติชน 2546
นคร พันธุ์ณรงค์ (2546) การเจราจาและข้อตกลงระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลอังกฤษ
เกี่ยวกับหัวเมืองชายแดนลานนาไทย
พิษณุ จันทร์วิทัน (2546) ล้านนาไทยในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง บริษัท โรงพิมพ์เดือนตุลา
จำกัด
พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ เล่าขาน งานพระเมรุ
ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2518)
ราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ ภาคปริวรรต ลำดับที่ 4 โรงพิมพ์คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำนักพิมพ์มติชน(2545)มหาราชวงษ์พงศาวดารพม่า โรงพิมพ์พิฆเณศพริ้นติ้ง เซนเตอร์
จำกัด
รวมบทความประวัติศาสตร์ (2539) รายงานระยะทางในราชการตรวจพระราชอาณาเขต
หัวเมืองลาวฝ่าย เหนือ ร.ศ.108
วันดี สันติวุฒิเมธี กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวไทยใหญ่ชายแดน
ไทย – พม่า กรณีศึกษาเรื่อง หมู่บ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่
วารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฉบับที่ 1/2545
สำนักนายกรัฐมนตรี,คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย (2533) สมเด็จพระนเรศวร
มหาราช 400 ปี ของการครองราชย์ รุ่งแสงการพิมพ์
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2540) ตำนานสิบห้าราชวงศ์ โรงพิมพ์มิ่งเมือง
เชียงใหม่
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2540) ตำนานพื้นเมืองลานนาเชียงใหม่
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี,คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย (2539) เมืองและแหล่ง
ชุมชนล้านนา
หอสมุดแห่งชาติ หนังสือและคัดบอกเมืองเชียงใหม่ หนังสือสมุดไทยดำ อักษรไทย ภาษาไทย
เส้นรงค์ (ดินสอ,หรดาล) จ.ศ. 1227 (พ.ศ.2408) เลขที่ 272 หมวดจดหมายเหตุ กท. ร.4
หอสมุดแห่งชาติ คำให้การท้าวสิทธิมงคล เรื่องการตั้งเมืองเชียงราย และเขตแดนเมือง
เชียงราย จ.ศ.1207 หนังสือสมุดไทยดำ เส้นดินสอ จ.ศ. 1207 เลขที่ 236 หมวด
จดหมายเหตุ กท. ร.3
ฮันส์ เพนธ์ (2539) ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ The Chiang Mai Chromicle โรงพิมพ์ O.S.
พริ้นติ้ง เฮ้าส์ กทม.
Holt S. Hallett A Thousand Miles on an Elephant in the shan States White Lotus
Bangkok Cheney
James McCaarthy Surveying and Exploring in Siam White Lotus Bangkok cheney
Sithu Gamani Thingyan Zinme Yazawin (Chronicle of Chiang Mai) จัดพิมพ์โดย
Universities Historical Research Centre Yangon ,2003

สาส์นจาก “ผู้เขียน”

ในวาระครบรอบ 400 ปีแห่งการเสด็จสวรรคตของ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2148 – 2548 )
เพื่อเป็นการตระหนัก สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ที่ทรงอุทิศพระองค์ อดทน กล้าหาญ ฟันฝ่าอริราชศัตรู
กอบกู้ผืนแผ่นดินให้ลูกหลานไทยได้อาศัยอยู่อย่างสันติสุข
สมบูรณ์พูนผลและมีศักดิ์ศรีตราบตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
จึงขอนำเรียนเสนอ
“ข้อมูลใหม่พื้นที่สวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”
ต่อมวลมหาประชาชนเพื่อจุดประกาย
ขยายขอบเขตการศึกษาประวัติศาสตร์รวมทั้งเพื่อให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพื้นที่สวรรคตปรากฏต่อไปเบื้องหน้า
อันจะนำมาซึ่งความจงรักภักดีน้อมนำใจ
ระลึกถึงและสถิตย์ยั่งยืนกลางใจปวงชนตราบชั่วนิจนิรันดร์.

30 มิถุนายน 2548




ชัยยง ไชยศรี.

“มหาราช”
เป้าหมายการศึก บดขยี้ “พระเจ้ากรุงอังวะ”
ปลดปล่อย “เมืองนาย” ขอบขัณฑสีมา “อโยธยา”

ยกพหลพลพยุหเสนา
ยาตราศึกอึกทึกสนั่นลั่นปฐพี
ประทับเหนือพระยาคชสีห์
ใต้ร่มรัศมีมหาเศวตฉัตร
พลังจิตห้าวหาญฮึกเหิม
ขุนศึก ขุนพล ทหารกล้า
ปวงประชาทั่วหล้า แซ่ซ้อง สรรเสริญ
เดินหน้าบดขยี้ เพื่อปฐพี “อโยธยา”

ราชา เหนือ ราชา
“นเรศวรมหาราช”
ชัยยง ไชยศรี.