Narasuan King

Amps

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

ตรวจสอบพงศาวดารไทย

บันทึกพื้นที่สวรรคตของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สมัยกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ.2148 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จ สวรรคต
พ.ศ.2223 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้ชำระพงศาวดาร โดยอาศัยหลักฐานต้นฉบับ ในหอหลวง เช่นปูมโหร บันทึกการเดินทัพ หรือคำกราบบังคมทูลรายงาน ฯลฯ และบันทึกพื้นที่สวรรคต ของสมเด็จพระนเรศวรฯ คือ “เมืองหลวง “ ตำบล ทุ่งดอนแก้ว
พ.ศ.2310 กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาเมือง พงศาวดารถูกเผา เหลือเล็ดลอดเพียง พงศาวดารอยุธยา ฉบับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีผู้สืบทอดหลายชั่วคน และหลวงประเสริฐอักษรนิติ ไปได้ต้นฉบับแล้วนำมามอบให้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของ หอสมุดวชิรญาณ ในสมัยรัชกาลที่ 5
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
พ.ศ.2325 ครั้นสถาปนากรุงเทพฯเป็นราชธานีแล้ว ขณะเดียวกันที่เชียงใหม่ พญากาวิละ (2324-2359) ได้ส่งกองทหาร ไปกวาดต้อนราษฎร เมืองเล็ก เมืองน้อย ที่ตั้งเรียงรายทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน เช่นเมืองจ้อด เมืองแหน เมืองหาง เมืองสาด เมืองต่วน ฯลฯ ลงมาใส่เมืองเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นเชียงใหม่มีสภาพเป็นเมืองร้าง และมีการรายงานไปยังกรุงเทพฯ เป็นประจำ ทำให้ข้อมูลหัวเมืองเชียงใหม่ ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน เพิ่มทวีมากยิ่งขึ้น
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับที่ชำระขึ้น ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีการชำระพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา โดยมีการขยายความ ที่เรียกว่า พงศาวดารฉบับพิสดาร มีเป็นจำนวนมากหลายฉบับด้วยกัน ในประเด็นเมือง ที่เสด็จสวรรคต เริ่มมีการเพิ่ม”คำ”บางคำ เข้าไปในฉบับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2223)เช่น เพิ่มคำว่า “ห้าง” หน้าคำว่า “เมืองหลวง” กลายเป็น “เมืองห้างหลวง” ในฉบับที่ชำระโดยพระจักรพรรดิพงศ์(จาด) และเพิ่มคำว่า”หาง”หน้าคำว่า “เมืองหลวง” กลายเป็นเมือง “หางหลวง“ในฉบับที่ชำระ พ.ศ.2338 โดย พันจันทนุมาศ(เจิม)และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2460) จึงมีการสันนิษฐานว่า “เมืองหลวง” ที่บันทึกในสมัยอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2223 คือ “เมืองหาง”(ในพม่า) และปรากฏในหนังสือแบบเรียนของทางราชการ มาจนถึงปัจจุบัน……

ชัยยง ไชยศรี.