Narasuan King

Amps

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

ตามรอยพระองค์ดำ หมายมุ่ง บุก อังวะ

ตามรอยพระองค์ดำ หมายมุ่ง บุก อังวะ

ตามรอยพระองค์ดำจนสุดแผ่นดินที่ เมืองคัง/Mogaung/Kawng รัฐคะฉิ่น พม่า
24-28 กุมภาพันธ์ 2559
กองพลทหารราบที่ 7
อำนวยการภารกิจ
ความสำคัญของ Mogaung

ดูได้จากถูกบันทึกไว้เป็นชื่อประตูเมืองหงสาฯ 1 ในจำนวน 20 ประตูเมืองเท่านั้น
โดยบันทึกไว้ด้านละ 5 ประตู
เช่นกำแพงเมืองด้านเหนือมีประตู โยเดีย(อยุธยา)

กำแพงเมืองด้านใต้
มีประตูเมืองคัง(gaung) 
ประตูเชียงใหม่
ประตูเมืองยิน
ประตูเมืองทวาย 
ประตูเมืององค์บอง เป็นต้น

Mogaung สำคัญอย่างไร?

เมืองนี้คือ ขุมทรัพย์อัญมณีล้ำค่า มีเหมือง "หยกคุณภาพสูง "
และมูลค่ามหาศาล
มหาอำนาจ พระเจ้าบุเรงนองต้องการตู้ ATM พระคลังมหาสมบัติเพื่อเลี้ยงกองทัพและราชสำนัก

โดย อ.ชัยยง ไชยศรี












วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

สรุปสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ปีเหตุการณ์
พ.ศ.2121คราวติดตามไปตีพระยาจีนจันตุ ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา
พ.ศ.2126เมื่อไปตี เมืองลุม เมืองคัง รัฐไทยใหญ่
พ.ศ.2127รบกับพม่า คราวทรงพระแสงปืนต้น ข้ามแม่น้ำสะโตง ถูกมังสุรกรรมาตาย
พ.ศ.2127สงคราไทยกับพม่า พม่ายกมา 130,000 ที่เมืองสุพรรณบุรี พระยาพะสิมยกมาทางสุพรรณบุรี พระเจ้าเชียงใหม่ ยกมาทางเหนือ ตีพม่่าแตกกลับไป
พ.ศ.2128สงครามไทยพม่า รบกับพระเจ้าเชียงใหม่ ที่บ้านสระเกศ พม่า 150,000 ไทย 80,000 ตีพม่าแตกกลับไป
พ.ศ.2129สงครามไทยพม่า คราวพม่า 250,000 ยกมาล้อมกรุง ไทยมีกำลัง 80,000 ตีพม่า ต้องถอยทัพภายใน 5 เดือน
พ.ศ.2133สงครามไทยพม่า คราวพระมหาอุปราชา ยกมาครั้งแรกที่สุพรรณบุรี พม่า 300,000 ไทย 80,000 พม่าแตกไป จับพระยาสิมได้ที่จรเข้สามพัน
พ.ศ.2135สงครามคราวยุทธหัตถี พม่า 250,000 ไทย 100,000
พ.ศ.2135สงครามเมือง ทะวาย ตะนาวศรี ไทย 100,000 ตีได้เมืองทะวาย ตะนาวศรี
พ.ศ.2136สงครามเมืองเขมร ไทย 130,000 เขมร 75,000 ได้เมืองเขมร
พ.ศ.2137สงครามไทยพม่า คราวไทยได้หัวเมืองมอญ
พ.ศ.2138สงครามไทยพม่า คราวไปตีเมืองหงสาวดี ครั้งที่ 1 ไม่สำเร็จ กำลังฝ่ายไทย 120,000
พ.ศ.2142สงครามไทยพม่า ยกไปตีเมืองหงสาวดีสำเร็จ ไทย 100,000 แล้วล้อม เมืองตองอู อยู่ 2 เดือน ต้องถอยทัพ
พ.ศ.2146พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ บันทึกว่า ทัพเจ้าฝ่ายหน้าเสด็จไปเอาเมืองขอมได้ ซึ่งตรงกับรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรฯ แต่ไม่ปรารกฏ ในพงศาวดาร แสดงว่าในรัชกาลของ สมเด็จพระนเรศวรฯ มีการไปตีเมืองเขมรถึง 2 ครั้ง... ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2136 ตามหลักฐานพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา
พ.ศ.2147สงครามครั้งสุดท้ายของ สมเด็จพระนเรศวรฯ ไทย 200,000 ยกไปตีเมืองอังวะ แต่เสด็จสวรรคตเสียก่อน

ผู้เขียน พลตรี ถวิล อยู่เย็น ชื่อหนังสือ สมเด็จพระนเรศวร มหาราช 400 ปี ของการครองราชย์ โดยคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ขับเสภางาน สัมนา 1 ทศวรรษ 26 กค 2555

เวียงแหงแหล่งค้นพบ.........หลักฐาน สมเด็จพระภูบาล...............ผ่านฟ้า เสด็จดับละสังขาร..............ณ แห่ง นี้นา วาระนี้ปวงข้า....................จักน้อมสนองคุณ" โดย เพชร แสงสว่าง

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

ยกย่อง พระบิดาประวัติศาสตร์ไทย และ ปิดท้าย

ยกย่อง พระบิดาประวัติศาสตร์ไทย

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นปราชญ์ของแผ่นดิน ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ไม่ยึดติดกับความคิดเห็นของพระองค์ว่าถูกต้องเสมอไป ดังที่ได้นิพนธ์ไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ดังนี้ …
“ ..ขอให้บรรดาผู้อ่านหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับนี้ จงเข้าใจความประสงค์ของข้าพเจ้าอย่างหนึ่ง ด้วยบรรดาคำอธิบายที่ข้าพเจ้าได้เรียบเรียงไว้ในหนังสือเรื่องนี้ กล่าวตามที่ได้ตรวจพบในหนังสืออื่นบ้าง กล่าวโดยสันนิษฐานของข้าพเจ้าเองบ้าง ข้าพเจ้าเป็นแต่ผู้ศึกษาพงศาวดารคนหนึ่ง จะรู้เรื่องถ้วนถี่รอบคอบหรือรู้ถูกต้องไปหมดไม่ได้..
…อีกประการหนึ่งผู้ศึกษาพงศาวดารมีมากด้วยกัน ความรู้และความเห็นย่อมไม่เหมือนกัน…แห่งใดใครจะเห็นชอบด้วย หรือแห่งใดใครจะคัดค้านด้วยมีหลักฐานซึ่งข้าพเจ้ายังไม่ทราบก็ดี หรือมีความคิดเห็นซึ่งดีกว่าความคิดเห็นของข้าพเจ้าก็ดี ถ้าได้ความรู้ความเห็นของผู้ศึกษาพงศาวดารหลายๆคนด้วยกันมาประกอบ คงจะได้เรื่องราวที่เป็นหลักฐานใกล้ต่อความจริงยิ่งขึ้น เมื่อสำเร็จประโยชน์อย่างนั้นแล้วก็จะสามารถ ที่จะแต่ง”พงศาวดารสยาม” ขึ้นใหม่ ให้มีหนังสือพงศาวดารไทยที่ดีเทียบเทียมกับพงศาวดารอย่างดี ของประเทศอื่นได้ ……”

บรรณานุกรม
กรมศิลปากร (2534) พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1
กรมศิลปากร (2546) รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟาน ฟลีต (วัน วลิต)
กรมแผนที่ทหาร (2526) วารสารแผนที่ ฉบับพิเศษ ครบรอบ 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์
โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร
กองจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัส ร.5 ม.2 12 ก. ใบบอก(เชียงใหม่)พระเจ้าอินทรวิชยานนท์
กราบบังคลทูลเรื่องให้จัดการรักษาเขตแดนตามหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี
ลงวันที่ 8มิถุนายน พ.ศ. 2417
กองจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัส ร.5 ม.58/163 เมืองแหงวิวาทกับเมืองปาย ร.ศ.114
(พ.ศ.2438)
คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักงานนายกรัฐมนตรี (2514) ตำนาน
พื้นเมืองเชียงใหม่
จิตร ภูมิศักดิ์ (2544) ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทาง
สังคมของชื่อชนชาติ
ชาติชาย ร่มสนธ์ (2546) การศึกษาสภาพภูมิศาสตร์ทางโบราณคดีของแหล่งโบราณสถาน
ในอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่
ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จกรมพระยา พระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สำนักพิมพ์
มติชน 2546
นคร พันธุ์ณรงค์ (2546) การเจราจาและข้อตกลงระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลอังกฤษ
เกี่ยวกับหัวเมืองชายแดนลานนาไทย
พิษณุ จันทร์วิทัน (2546) ล้านนาไทยในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง บริษัท โรงพิมพ์เดือนตุลา
จำกัด
พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ เล่าขาน งานพระเมรุ
ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2518)
ราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ ภาคปริวรรต ลำดับที่ 4 โรงพิมพ์คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำนักพิมพ์มติชน(2545)มหาราชวงษ์พงศาวดารพม่า โรงพิมพ์พิฆเณศพริ้นติ้ง เซนเตอร์
จำกัด
รวมบทความประวัติศาสตร์ (2539) รายงานระยะทางในราชการตรวจพระราชอาณาเขต
หัวเมืองลาวฝ่าย เหนือ ร.ศ.108
วันดี สันติวุฒิเมธี กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวไทยใหญ่ชายแดน
ไทย – พม่า กรณีศึกษาเรื่อง หมู่บ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่
วารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฉบับที่ 1/2545
สำนักนายกรัฐมนตรี,คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย (2533) สมเด็จพระนเรศวร
มหาราช 400 ปี ของการครองราชย์ รุ่งแสงการพิมพ์
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2540) ตำนานสิบห้าราชวงศ์ โรงพิมพ์มิ่งเมือง
เชียงใหม่
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2540) ตำนานพื้นเมืองลานนาเชียงใหม่
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี,คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย (2539) เมืองและแหล่ง
ชุมชนล้านนา
หอสมุดแห่งชาติ หนังสือและคัดบอกเมืองเชียงใหม่ หนังสือสมุดไทยดำ อักษรไทย ภาษาไทย
เส้นรงค์ (ดินสอ,หรดาล) จ.ศ. 1227 (พ.ศ.2408) เลขที่ 272 หมวดจดหมายเหตุ กท. ร.4
หอสมุดแห่งชาติ คำให้การท้าวสิทธิมงคล เรื่องการตั้งเมืองเชียงราย และเขตแดนเมือง
เชียงราย จ.ศ.1207 หนังสือสมุดไทยดำ เส้นดินสอ จ.ศ. 1207 เลขที่ 236 หมวด
จดหมายเหตุ กท. ร.3
ฮันส์ เพนธ์ (2539) ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ The Chiang Mai Chromicle โรงพิมพ์ O.S.
พริ้นติ้ง เฮ้าส์ กทม.
Holt S. Hallett A Thousand Miles on an Elephant in the shan States White Lotus
Bangkok Cheney
James McCaarthy Surveying and Exploring in Siam White Lotus Bangkok cheney
Sithu Gamani Thingyan Zinme Yazawin (Chronicle of Chiang Mai) จัดพิมพ์โดย
Universities Historical Research Centre Yangon ,2003

สาส์นจาก “ผู้เขียน”

ในวาระครบรอบ 400 ปีแห่งการเสด็จสวรรคตของ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2148 – 2548 )
เพื่อเป็นการตระหนัก สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ที่ทรงอุทิศพระองค์ อดทน กล้าหาญ ฟันฝ่าอริราชศัตรู
กอบกู้ผืนแผ่นดินให้ลูกหลานไทยได้อาศัยอยู่อย่างสันติสุข
สมบูรณ์พูนผลและมีศักดิ์ศรีตราบตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
จึงขอนำเรียนเสนอ
“ข้อมูลใหม่พื้นที่สวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”
ต่อมวลมหาประชาชนเพื่อจุดประกาย
ขยายขอบเขตการศึกษาประวัติศาสตร์รวมทั้งเพื่อให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพื้นที่สวรรคตปรากฏต่อไปเบื้องหน้า
อันจะนำมาซึ่งความจงรักภักดีน้อมนำใจ
ระลึกถึงและสถิตย์ยั่งยืนกลางใจปวงชนตราบชั่วนิจนิรันดร์.

30 มิถุนายน 2548




ชัยยง ไชยศรี.

“มหาราช”
เป้าหมายการศึก บดขยี้ “พระเจ้ากรุงอังวะ”
ปลดปล่อย “เมืองนาย” ขอบขัณฑสีมา “อโยธยา”

ยกพหลพลพยุหเสนา
ยาตราศึกอึกทึกสนั่นลั่นปฐพี
ประทับเหนือพระยาคชสีห์
ใต้ร่มรัศมีมหาเศวตฉัตร
พลังจิตห้าวหาญฮึกเหิม
ขุนศึก ขุนพล ทหารกล้า
ปวงประชาทั่วหล้า แซ่ซ้อง สรรเสริญ
เดินหน้าบดขยี้ เพื่อปฐพี “อโยธยา”

ราชา เหนือ ราชา
“นเรศวรมหาราช”
ชัยยง ไชยศรี.

ตรวจสอบ วัสดุที่ใช้ทำ เจดีย์ ว่าเป็นสมัยใด

ตรวจสอบ วัสดุที่ใช้ทำ เจดีย์ ว่าเป็นสมัยใด

- พ.ศ.2148 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จสวรรคต ณ “เมืองแหน” แขวงเมืองเชียงใหม่
- ประมาณ 300 ปีต่อมา -
- พ.ศ.2460 สมัยรัชกาลที่ 6 มีการสันนิษฐานว่า สวรรคต ที่ เมืองหาง(ในพม่า)
- พ.ศ.2433 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้สำรวจจัดทำแผนที่พระราชอาณาเขตชายแดนล้านนาเป็นครั้งแรก โดย พระยาประชากิจกรจักร(แช่ม บุนนาค) กับ Mr.Collins .ในบริเวณ หัวเมืองเงี้ยว (ไทใหญ่) 5 หัวเมือง ได้แก่ เมืองหาง เมืองต่วน เมืองสาด เมืองจวด(จ้อด) เมืองทา ในรายงานของพระยา ประชากิจกรจักร ที่เสนอต่อกระทรวงมหาดไทย ได้ให้รายละเอียด “เมืองหาง” ในหลายด้านเช่น ประชากรทั้งหมด เป็นชาติเงี้ยว(ไทใหญ่) จำนวนประมาณ 1,500 คน มีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 280 ตารางไมล์ ทำนาได้ข้าวเปลือกปีละประมาณ 100 ต่าง (150 ถัง)
โดยเฉพาะเจดีย์ ที่พบเห็นในเมืองหางขณะนั้น (114 ปีที่แล้ว) มีดังนี้
1. เวียงหางฮ้อง(บริเวณที่ตั้งของเมืองหาง) – ไม่ปรากฏว่ามีเจดีย์ -
2. เวียงบ้านฉาง (อยู่ด้านใต้ของเวียงหางฮ้อง ) มีเจดีย์วัดกำแพงงาม (ตั้งอยู่ริมเวียง)
3.เวียงอ้อ (อยู่ด้านใต้ของเวียงบ้านฉาง) ภายในเวียงมีรอยก่ออิฐ ก่อปูน พระเจดีย์ และวัดเก่าร้าง หลายแห่งแต่บัดนี้เป็นทำเลป่าหาผู้คนไม่ได้ เวียงนี้เห็นจะเป็นฝีมือจีน แต่ก่อนนามที่เรียกเวียง”อ้อ” น่าจะเป็น เวียง”ฮ่อ”
4. ทิศตะวันออกของเมืองหางมีเมือง อ่องหลวง ใต้เมืองอ่องหลวง มีถ้ำปล่องก่ออิฐประจบผา มีพระพุทธรูปใหญ่น้อยต่างๆ มีจารึกอักษรว่า “นายคำฟู” เป็นผู้สร้าง มีม่อนจอมแจ้ง ตะวันออกเฉียงเหนือบ้านโป่งป่าแขม มีพระเจดีย์ใหญ่องค์หนึ่ง ทิศตะวันตกบ้านโป่งน้ำใส มีพระธาตุเจดีย์ เรียกว่า “จอมแจ้งสันขวาง” ปรากฎนามว่า “นางคำเอื้อย” บ้าน “เมืองงาย” (อ.เชียงดาว เชียงใหม่ )มาสร้าง
5.ดอนแก้วท่าชะวา เหนือบ้านนากองมู มีพระเจดีย์ใหญ่องค์หนึ่ง ในถ้ำยอด น้ำออกฮู มีพระพุทธรูปใหญ่องค์หนึ่ง
บรรดาสิ่งสำคัญแต่โบราณทั้งหลายนี้กับนามผู้สร้าง ที่มีปรากฎ ก็เป็นอย่าง และฝีมือ ไทยลาวทั้งสิ้น ไม่มีของพม่ามาระคนปนแต่สักสิ่งสักอย่างเลย..
- พ.ศ.2485 สงครามโลกครั้งที่ 2 กองพันทหารราบที่ 13 กรมทหารราบที่ 5 ได้ตั้งกองบังคับการกองพัน ณ หมู่บ้านเมืองหาง(ในพม่า)และวาดแผนที่สังเขป มีเจดีย์เจ้าไต อยู่ทางทิศใต้หมู่บ้านเมืองหาง อยู่ทางทิศตะวันออกของถนนที่มุ่งไปสู่หมู่บ้านโป่งป่าแขม
- พ.ศ.2490 สัญญาปางโหลง(12 กุมภาพันธ์ 2490) โดยสาระเมื่อครบ 10 ปี พม่าจะให้อธิปไตย แก่ชนกลุ่มน้อย
- พ.ศ.2498 หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่า ..ในการลาดตระเวณชายแดนฤดูแล้งนี้กองอาสารักษาดินแดน ร่วมกับกองทหารพม่า พบเจดีย์ร้างอยู่ในป่าโดยไม่มีวัด ใต้เมืองหาง 8 กม. ห่างแม่น้ำหางไม่ถึง 1 กม. ไกลจากแม่น้ำยูน 20 กม. เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนสันนิษฐานว่า เป็นเจดีย์บรรจุอัฐิสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และกระทรวงมหาดไทยได้แจ้งให้กรมศิลปากรไปตรวจสอบ แต่ปีนั้น กรมศิลปากรไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ เนื่องจากขณะนั้นอยู่ในช่วงฤดูฝน และฝนตกชุก (นสพ. ลงข่าวในฉบับวันที่ 19 กรกฎาคม 2498 : อ้างในบทความของนายตรี อมาตยกุล)
- พ.ศ.2499 กรมศิลปากรยังไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ (อ้างแล้ว บุคคลเดียวกัน)
- พ.ศ.2500 กรมศิลปากรยังไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ (อ้างแล้ว บุคคลเดียวกัน)
- พ.ศ.2500 พม่าไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาปางโหลง ที่ครบกำหนดเวลา 10 ปี จะให้เอกราช แก่ชนกลุ่มน้อย (ครบกำหนด 12 กุมภาพันธ์ 2500)
- พ.ศ.2501 ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2501 เกิดกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ หรือ กลุ่ม “หนุ่มศึกหาญ” ซึ่งมีเจ้าน้อย ซอ หยั่นต๊ะ เป็นผู้นำกลุ่ม ได้มาตั้งกองกำลัง ตามแนวชายแดนไทย ตั้งแต่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย อ.แม่อาย อ.ฝาง อ.ไชยปราการ อ.เชียวดาว อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ จนถึง จ.แม่ฮ่องสอน โดยมีเขตอิทธิพล ครอบคลุมพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวินทั้งหมดและมีหมู่บ้านปางใหม่ ฝั่งตรงข้ามบ้านเปียงหลวงชายแดน อ.เวียงแหง เชียงใหม่ เป็น กองบัญชาการกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ รวมทั้งเริ่มมีการปะทะกองทหารพม่าทั่วทั้งรัฐฉาน
- พ.ศ.2501 จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ เดินทางมาตรวจราชการชายแดนพื้นที่ จ.เชียงใหม่ได้แนะนำวีรกรรมที่เด็ดเดี่ยวกล้าหาญของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ให้ผู้นำกลุ่มกู้ชาติไทยใหญ่ เทิดเกล้าฯ ไว้เป็นเยี่ยงอย่างในการกอบกู้แผ่นดิน ต่อมาเจ้าน้อยซอ หยั่นต๊ะ และจอมพลสฤษดิ์ ได้ร่วมกันสร้างเหรียญบูชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้านหน้าเป็นพระรูปสมเด็จพระนเรศวร ด้านหลังเป็นตัวอักษรไทใหญ่ (รุ่นแรก พ.ศ.2501)
- พ.ศ.2501 กรมศิลปากรยังไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบเจดีย์ (อ้างแล้ว บุคคลเดียวกัน)
* ประมาณ พ.ศ.2501 เจดีย์ได้ถูกระเบิดทำลายไป อิฐหัก กากปูนถูกเก็บกวาดลงไปทิ้งในแม่น้ำ หาง ไปหมดสิ้น ไม่มีทรากเหลืออยู่บนพื้นดินเลย (ที่มา: บทความของนายตรี อมาตยกุล)
พ.ศ.2515 นายตรี อมาตยกุล เขียนบทความว่าก่อนปี 2501 มี ป้ายภาษาพม่าติดไว้ที่ต้นไม้ใหญ่ข้างเจดีย์เมืองหาง(ในพม่า) ว่า “ เชโยเดียตั้ดมุโอ้กกุ พระนาเรศวร” ซึ่งเจ้าหน้าที่ สถานฑูตพม่าแปลให้ฟังว่า “สถานที่ก่ออิฐบรรจุอัฐิแม่ทัพไทยสมัยโบราณ พระนเรศวร” ..

ประเด็นการวิเคราะห์
เจดีย์บรรจุอัฐิสมเด็จพระนเรศวรฯ ที่ “เมืองหาง”(พม่า)
เกิดจาก “การสันนิษฐานของกองอาสารักษาดินแดนไทย เมื่อ พ.ศ. 2498”
- โดยก่อนหน้านั้นย้อนลึกเข้าไปในอดีต ไม่มี เจดีย์บรรจุอัฐิสมเด็จพระนเรศวร ที่ “เมืองหาง” ทั้งรายงานของกองพันทหารราบที่ 13 กรมทหารราบที่ 5 ซึ่งเคลื่อนพลไปตั้งกองบัญชาการ ณ เมืองหาง เมื่อ พ.ศ.2485 และ
- รายงานการเดินเท้าสำรวจพระราชอาณาเขตหัวเมืองเงี้ยวทั้ง 5 ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. 2433 ของพระยาประชากิจกรจักร(แช่ม บุนนาค) ก็ไม่มีเจดีย์บรรจุอัฐิสมเด็จพระนเรศวรฯที่เมืองหาง เช่นเดียวกัน
อีกทั้ง 2 รายงาน ก็ไม่มีป้ายภาษาพม่าติดไว้ที่ต้นไม้ใกล้เจดีย์ แต่อย่างใด
รวมทั้งประเด็นหลักที่ตั้งเป็นข้อสังเกต คือพระบรมศพของมหาราชเจ้า มีการถวายพระเพลิงกันในท้องถิ่นชายขอบพระราชอาณาเขตแทนที่ในกรุงราชธานีจริงหรือ? คำตอบในประเด็นนี้สามารถเทียบเคียงได้กับการจัดการพระศพของพระมหาอุปราชา(พ.ศ.2135 ) โดยพระองค์ถูกพระแสงของ้าวของสมเด็จพระนเรศวรฯฟาดฟันจนขาดสะพายแล่งและสิ้นพระชนม์บนคอช้างในเขตแดนอยุธยา ทั้งนี้มหาราชวงษ์พงศาวดารของพม่าบันทึกไว้ว่า ไม่ได้ประชุมเพลิง ณ สมรภูมิ แต่นำพระศพวางลงในไม้มะม่วงแล้วใช้สารปรอทเททับรอบร่างเพื่อรักษาพระศพ จากนั้นจึงนำ พระศพกลับพม่าเดินทางรอนแรมนานนับเดือน จัดพิธีประชุมเพลิงในเมืองหลวงหงสาวดี
ดังนั้นในยุคสมัยเดียวกัน(พ.ศ.2148)พระบรมศพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก็คงใช้เทคโนโลยีในการรักษาพระบรมศพที่ใกล้เคียงกันและนำพระบรมศพกลับกรุงศรีอยุธยา เพื่อจัดพระราชพิธีทักษิณานุปทานบำเพ็ญกุศลและพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพอย่างสมพระเกียรติ ท่ามกลางพสกนิกร แม่ทัพ นายกอง ข้าราชบริพาร ฑูตานุทูต และเจ้าเมืองประเทศราช อีกทั้งจดหมายเหตุสมัยอยุธยา เรื่องรายงานพระเมรุครั้งกรุงเก่า จ.ศ. ๑๐๙๗ บันทึกว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ โปรดให้มีการสร้างพระเมรุมาศ สูงเส้นสิบเจ็ดวา( ๗๔ เมตร)เพื่อรับพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมายังกรุงศรีอยุธยา พร้อมอัญเชิญพระบรมศพเสด็จลีลาโดยรัถยาราชวัติไปยังพระเมรุมาศด้วยยศบริวารและเครื่องสักการะบูชาหนักหนา ประทับเหนือกฤษฎาธารอันประดับด้วยอภิรุมกลิ้งกลดรจนา แห่ล้อมด้วยท้าวพระยาเสนาธิบดีมนตรีมุขทั้งหลาย สมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จไปถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง(สมเด็จพระนเรศวรมหาราช) ให้นิมนต์พระสงฆ์สบสังวาศจำนวนหนึ่งหมื่นหนึ่ง(๑๐,๐๐๑ รูป) ถวายพระราชทานเครื่องอัฐบริขารทักษิณาบูชาพระสงฆ์ทั้งปวงเป็นมโหฬาร
แล้วจะมีเจดีย์บรรจุอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ ดินแดนชายขอบพระราช อาณาเขตได้อย่างไร?

ชัยยง ไชยศรี.

ตรวจสอบพงศาวดารไทย

บันทึกพื้นที่สวรรคตของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สมัยกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ.2148 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จ สวรรคต
พ.ศ.2223 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้ชำระพงศาวดาร โดยอาศัยหลักฐานต้นฉบับ ในหอหลวง เช่นปูมโหร บันทึกการเดินทัพ หรือคำกราบบังคมทูลรายงาน ฯลฯ และบันทึกพื้นที่สวรรคต ของสมเด็จพระนเรศวรฯ คือ “เมืองหลวง “ ตำบล ทุ่งดอนแก้ว
พ.ศ.2310 กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาเมือง พงศาวดารถูกเผา เหลือเล็ดลอดเพียง พงศาวดารอยุธยา ฉบับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีผู้สืบทอดหลายชั่วคน และหลวงประเสริฐอักษรนิติ ไปได้ต้นฉบับแล้วนำมามอบให้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของ หอสมุดวชิรญาณ ในสมัยรัชกาลที่ 5
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
พ.ศ.2325 ครั้นสถาปนากรุงเทพฯเป็นราชธานีแล้ว ขณะเดียวกันที่เชียงใหม่ พญากาวิละ (2324-2359) ได้ส่งกองทหาร ไปกวาดต้อนราษฎร เมืองเล็ก เมืองน้อย ที่ตั้งเรียงรายทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน เช่นเมืองจ้อด เมืองแหน เมืองหาง เมืองสาด เมืองต่วน ฯลฯ ลงมาใส่เมืองเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นเชียงใหม่มีสภาพเป็นเมืองร้าง และมีการรายงานไปยังกรุงเทพฯ เป็นประจำ ทำให้ข้อมูลหัวเมืองเชียงใหม่ ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน เพิ่มทวีมากยิ่งขึ้น
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับที่ชำระขึ้น ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีการชำระพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา โดยมีการขยายความ ที่เรียกว่า พงศาวดารฉบับพิสดาร มีเป็นจำนวนมากหลายฉบับด้วยกัน ในประเด็นเมือง ที่เสด็จสวรรคต เริ่มมีการเพิ่ม”คำ”บางคำ เข้าไปในฉบับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2223)เช่น เพิ่มคำว่า “ห้าง” หน้าคำว่า “เมืองหลวง” กลายเป็น “เมืองห้างหลวง” ในฉบับที่ชำระโดยพระจักรพรรดิพงศ์(จาด) และเพิ่มคำว่า”หาง”หน้าคำว่า “เมืองหลวง” กลายเป็นเมือง “หางหลวง“ในฉบับที่ชำระ พ.ศ.2338 โดย พันจันทนุมาศ(เจิม)และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2460) จึงมีการสันนิษฐานว่า “เมืองหลวง” ที่บันทึกในสมัยอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2223 คือ “เมืองหาง”(ในพม่า) และปรากฏในหนังสือแบบเรียนของทางราชการ มาจนถึงปัจจุบัน……

ชัยยง ไชยศรี.