Narasuan King

Amps

วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

เจาะลึก! เอกสารอ้างอิงเบื้องหลัง 'ข้อมูลใหม่พื้นที่สวรรคตสมเด็จพระนเรศวรฯ' โดยอาจารย์ชัยยง ไชยศรี"

 เจาะลึก! เอกสารอ้างอิงเบื้องหลัง 'ข้อมูลใหม่พื้นที่สวรรคตสมเด็จพระนเรศวรฯ' โดยอาจารย์ชัยยง ไชยศรี

ข้อมูลใหม่จากงานวิจัย: พื้นที่สวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
จากการศึกษาค้นคว้าของ อาจารย์ชัยยง ไชยศรี ได้มีการนำเสนอข้อมูลใหม่เกี่ยวกับสถานที่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่แตกต่างไปจากความเชื่อเดิมที่เคยระบุว่าพระองค์สวรรคตที่เมืองหาง หรือเมืองงาย

ตามงานวิจัยนี้ พื้นที่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชคือ เมืองแหน แขวงเมืองเชียงใหม่ ซึ่งในปัจจุบันคือ อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย

การระบุตำแหน่งใหม่นี้มาจากการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์และเส้นทางการเดินทัพของพระองค์อย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยพิจารณาจากข้อมูลที่พบใหม่และบริบททางภูมิศาสตร์ในอดีตและปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนและถูกต้องตามหลักฐานที่ค้นพบ.
พร้อมทั้ง ตีความจาก ร่องรอยเดินทัพ, สภาพภูมิประเทศ, บันทึกจดหมายเหตุ, แผนที่เก่า และข้อมูลโบราณคดีที่สอดคล้องกัน

หนังสือชื่อ "ข้อมูลใหม่พื้นที่สวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" เขียนโดย อาจารย์ชัยยง ไชยศรี
โดยมีรายละเอียดดังนี้:
ชื่อเรื่อง: ข้อมูลใหม่พื้นที่สวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ผู้แต่ง: ชัยยง ไชยศรี
ปีที่จัดทำ/พิมพ์: พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003)
ภาษา: ไทย
หมวดหมู่: ประวัติศาสตร์
เลขหมู่: ป17
สถานะ ISBN/ISSN: ไม่มีระบุ (แสดงเป็น '-')
สถานะปัจจุบัน: พร้อมให้บริการที่ห้องศูนย์ข้อมูลภูมิปัญญาล้านนา


เอกสารอ้างอิง บรรณานุกรม: "ข้อมูลใหม่พื้นที่สวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" โดย ชัยยง ไชยศรี


หนังสือและเอกสารทั่วไป:

  • กรมศิลปากร. (2534). พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1.

  • กรมศิลปากร. (2546). รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟาน ฟลีต (วัน วลิต).

  • จิตร ภูมิศักดิ์. (2544). ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ.

  • ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. (2546). พระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช. สำนักพิมพ์มติชน.

  • นคร พันธุ์ณรงค์. (2546). การเจรจาและข้อตกลงระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลอังกฤษเกี่ยวกับหัวเมืองชายแดนลานนาไทย.

  • พิษณุ จันทร์วิทัน. (2546). ล้านนาไทยในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง. บริษัท โรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด.

  • พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. (ไม่ระบุปีพิมพ์). เล่าขาน งานพระเมรุ.

  • สำนักพิมพ์มติชน. (2545). มหาราชวงษ์พงศาวดารพม่า. โรงพิมพ์พิฆเณศพริ้นติ้ง เซนเตอร์ จำกัด.

  • สำนักนายกรัฐมนตรี, คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย. (2533). สมเด็จพระนเรศวรมหาราช 400 ปี ของการครองราชย์. รุ่งแสงการพิมพ์.

  • สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย. (2539). เมืองและแหล่งชุมชนล้านนา.

  • ฮันส์ เพนธ์. (2539). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ The Chiang Mai Chronicle. โรงพิมพ์ O.S. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ กทม.

วารสารและบทความ:

  • กรมแผนที่ทหาร. (2526). วารสารแผนที่ ฉบับพิเศษ ครบรอบ 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์. โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร.

  • ชาติชาย ร่มสนธ์. (2546). การศึกษาสภาพภูมิศาสตร์ทางโบราณคดีของแหล่งโบราณสถานในอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่.

  • วันดี สันติวุฒิเมธี. (2545). กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวไทยใหญ่ชายแดนไทย – พม่า กรณีศึกษาเรื่อง หมู่บ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ฉบับที่ 1/2545.

  • รวมบทความประวัติศาสตร์. (2539). รายงานระยะทางในราชการตรวจพระราชอาณาเขตหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ ร.ศ.108.

ตำนานและพงศาวดารท้องถิ่น (ตีพิมพ์โดยสถาบัน/คณะ):

  • คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักงานนายกรัฐมนตรี. (2514). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่.

  • ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2518). ราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ ภาคปริวรรต ลำดับที่ 4. โรงพิมพ์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

  • สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2540). ตำนานสิบห้าราชวงศ์. โรงพิมพ์มิ่งเมืองเชียงใหม่.

  • สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2540). ตำนานพื้นเมืองลานนาเชียงใหม่.

เอกสารจากหอจดหมายเหตุและหอสมุดแห่งชาติ:

  • กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. รหัส ร.5 ม.2 12 ก. ใบบอก(เชียงใหม่)พระเจ้าอินทรวิชยานนท์ กราบบังคลทูลเรื่องให้จัดการรักษาเขตแดนตามหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี ลงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2417.

  • กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. รหัส ร.5 ม.58/163. เมืองแหงวิวาทกับเมืองปาย ร.ศ.114 (พ.ศ.2438).

  • หอสมุดแห่งชาติ. หนังสือและคัดบอกเมืองเชียงใหม่ หนังสือสมุดไทยดำ อักษรไทย ภาษาไทย เส้นรงค์ (ดินสอ,หรดาล) จ.ศ. 1227 (พ.ศ.2408). เลขที่ 272 หมวดจดหมายเหตุ กท. ร.4.

  • หอสมุดแห่งชาติ. คำให้การท้าวสิทธิมงคล เรื่องการตั้งเมืองเชียงราย และเขตแดนเมืองเชียงราย จ.ศ.1207. หนังสือสมุดไทยดำ เส้นดินสอ จ.ศ. 1207 เลขที่ 236 หมวดจดหมายเหตุ กท. ร.3.

เอกสารภาษาอังกฤษและต่างประเทศ:

  • Holt S. Hallett. A Thousand Miles on an Elephant in the Shan States. White Lotus Bangkok Cheney.

  • James McCaarthy. Surveying and Exploring in Siam. White Lotus Bangkok Cheney.

  • Sithu Gamani Thingyan Zinme Yazawin (Chronicle of Chiang Mai). จัดพิมพ์โดย Universities Historical Research Centre Yangon, 2003.


วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

คลิป ตำนานสมเด็จพระนเรศวร เส้นทางเดินทัพพระนเรศวร ตามตำรา โบราณ

เส้นทางเดินทัพ ครั้งสุดท้าย สมเด็จ พระนเรศวร มหาราช

พระองค์ ทรงเป็นกษัตริย์ ผู้กล้า ของปวงชนม์ชาวไทย เป็น วีรบุรุษ กอบกู้เอกราช ชาติไทย

บันทึกประวัติศาสตร์ พงศาวดาร ไม่ตรงกัน


มูลเหตุ แห่งการเดินทัพ ครั้งสุดท้าย สมเด็จพระนเรศวร ฯ


ร่องน้ำ ภูมิศาสตร์ 2 ร่อง การกรีฑาทัพ สมเด็จพระนเรศวร ฯ


ทั้งกษัตริย์ พม่า ไทย พระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้าตาก ฯ ล้วนแต่ใช้เส้นทางนี้


เส้นทางที่ สั้นที่สุด คือ ชัยชนะ กับ คำพยากรณ์ ที่ แม่นยำ


พบแล้ว พื้นที่สวรรคต สมเด็จพระนเรศวร มหาราช


เมืองเก่า จริง วัดร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ พื้นที่สวรรคต สมเด็จพระนเรศวร


พระธาตุ 9 พระองค์ เมือง สวรรคต สมเด็จ พระนเรศวรสถาน โบราณวัตถุ พื้นที่สวรรคต สมเด็จพระนเรศวร



วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สำรวจท่าผาแดง

ท่าผาแดง จุดข้ามทัพ

สำรวจเส้นทางเดินทัพฯเมืองนาย-เมืองปั่น-ท่าผาแดง (แม่น้ำสาละวิน)พม่า
24 - 28 สิงหาคม 2559












วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เหตุผล ทำไม องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงไม่น่าที่จะสิ้นพระชนม์ฯ ที่ เมืองหาง

เหตุผลทางภูมิศาสตร์ ที่ทำให้เชื่อได้ว่า องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่น่าที่จะสิ้นพระชนม์ฯ ที่ เมืองหาง

ส่วนทัพไปเชียงดาว เมื่อข้ามแม่น้ำสาละวินที่ “ท่าผาแดง”แล้ว จะขึ้นสันเขา”ดอยขี้เหล็ก”ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดลงสู่ เมืองจ้อด (Kyawt) จากนั้น เดินทางไต่สันดอยมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้มายัง “ช่องทางเมืองนะ”เข้าเขตไทยผ่าน “เมืองนะ” “นาหวาย” “ทุ่งข้าวพวง” “เมืองงาย” เชียงดาว แม่แตง แม่ริม ถึงเชียงใหม่ โปรดสังเกตในแผนที่มาตราส่วน 1 : 63360 เส้นทางเดินทัพผ่าน “เมืองจ้อด” จะไม่ย้อนขึ้นไป “เมืองหาง” ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองจ้อด ราว 30  กม.แล้วย้อนกลับลงมายังช่องทางเข้าเชียงดาวระยะทางอีก ราว 36 กม. โดยผ่าน “ช่องทางเมืองนะ” หรือ “ช่องทาง “กิ่วผาวอก” เพราะเป้าหมายอยู่ที่เชียงดาว ไม่ใช่เมืองหาง ซึ่งจะทำให้เสียเวลาเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3-4 วัน(ค่าเฉลี่ยเดินทัพได้วันละ 20 กม.) รวมทั้งเสียเสบียงเลี้ยงกองทัพไปเปล่าโดยไม่มีความจำเป็น ด้วยเหตุนี้กองทัพพระเจ้าบุเรงนองจึงไม่ผ่าน “เมืองหาง”


วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เส้นทางเดินทัพ สู่ เส้นทางการค้า

ทางสายไหม แห่งทศวรรษนี้ เชียงใหม่ เวียงแหง เมืองปั่น เมืองนาย สีป้อ แสนหวี หมู่แจ้ /รุ่ยลี่(ส่วยหลี)

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

ผังประตูเมืองหงสาวดี ยุคก่อนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ผังประตูเมืองหงสาวดี ยุคก่อนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ผังประตูเมืองหงสาวดี ยุคก่อนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระเจ้าบุเรงนอง)



วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

ตามรอยพระองค์ดำ หมายมุ่ง บุก อังวะ

ตามรอยพระองค์ดำ หมายมุ่ง บุก อังวะ

ตามรอยพระองค์ดำจนสุดแผ่นดินที่ เมืองคัง/Mogaung/Kawng รัฐคะฉิ่น พม่า
24-28 กุมภาพันธ์ 2559
กองพลทหารราบที่ 7
อำนวยการภารกิจ
ความสำคัญของ Mogaung

ดูได้จากถูกบันทึกไว้เป็นชื่อประตูเมืองหงสาฯ 1 ในจำนวน 20 ประตูเมืองเท่านั้น
โดยบันทึกไว้ด้านละ 5 ประตู
เช่นกำแพงเมืองด้านเหนือมีประตู โยเดีย(อยุธยา)

กำแพงเมืองด้านใต้
มีประตูเมืองคัง(gaung) 
ประตูเชียงใหม่
ประตูเมืองยิน
ประตูเมืองทวาย 
ประตูเมืององค์บอง เป็นต้น

Mogaung สำคัญอย่างไร?

เมืองนี้คือ ขุมทรัพย์อัญมณีล้ำค่า มีเหมือง "หยกคุณภาพสูง "
และมูลค่ามหาศาล
มหาอำนาจ พระเจ้าบุเรงนองต้องการตู้ ATM พระคลังมหาสมบัติเพื่อเลี้ยงกองทัพและราชสำนัก

โดย อ.ชัยยง ไชยศรี