Narasuan King

Amps

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

คลิป ตำนานสมเด็จพระนเรศวร เส้นทางเดินทัพพระนเรศวร ตามตำรา โบราณ

เส้นทางเดินทัพ ครั้งสุดท้าย สมเด็จ พระนเรศวร มหาราช

พระองค์ ทรงเป็นกษัตริย์ ผู้กล้า ของปวงชนม์ชาวไทย เป็น วีรบุรุษ กอบกู้เอกราช ชาติไทย

บันทึกประวัติศาสตร์ พงศาวดาร ไม่ตรงกัน


มูลเหตุ แห่งการเดินทัพ ครั้งสุดท้าย สมเด็จพระนเรศวร ฯ


ร่องน้ำ ภูมิศาสตร์ 2 ร่อง การกรีฑาทัพ สมเด็จพระนเรศวร ฯ


ทั้งกษัตริย์ พม่า ไทย พระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้าตาก ฯ ล้วนแต่ใช้เส้นทางนี้


เส้นทางที่ สั้นที่สุด คือ ชัยชนะ กับ คำพยากรณ์ ที่ แม่นยำ


พบแล้ว พื้นที่สวรรคต สมเด็จพระนเรศวร มหาราช


เมืองเก่า จริง วัดร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ พื้นที่สวรรคต สมเด็จพระนเรศวร


พระธาตุ 9 พระองค์ เมือง สวรรคต สมเด็จ พระนเรศวรสถาน โบราณวัตถุ พื้นที่สวรรคต สมเด็จพระนเรศวร



วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สำรวจท่าผาแดง

ท่าผาแดง จุดข้ามทัพ

สำรวจเส้นทางเดินทัพฯเมืองนาย-เมืองปั่น-ท่าผาแดง (แม่น้ำสาละวิน)พม่า
24 - 28 สิงหาคม 2559












วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เหตุผล ทำไม องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงไม่น่าที่จะสิ้นพระชนม์ฯ ที่ เมืองหาง

เหตุผลทางภูมิศาสตร์ ที่ทำให้เชื่อได้ว่า องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่น่าที่จะสิ้นพระชนม์ฯ ที่ เมืองหาง

ส่วนทัพไปเชียงดาว เมื่อข้ามแม่น้ำสาละวินที่ “ท่าผาแดง”แล้ว จะขึ้นสันเขา”ดอยขี้เหล็ก”ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดลงสู่ เมืองจ้อด (Kyawt) จากนั้น เดินทางไต่สันดอยมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้มายัง “ช่องทางเมืองนะ”เข้าเขตไทยผ่าน “เมืองนะ” “นาหวาย” “ทุ่งข้าวพวง” “เมืองงาย” เชียงดาว แม่แตง แม่ริม ถึงเชียงใหม่ โปรดสังเกตในแผนที่มาตราส่วน 1 : 63360 เส้นทางเดินทัพผ่าน “เมืองจ้อด” จะไม่ย้อนขึ้นไป “เมืองหาง” ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองจ้อด ราว 30  กม.แล้วย้อนกลับลงมายังช่องทางเข้าเชียงดาวระยะทางอีก ราว 36 กม. โดยผ่าน “ช่องทางเมืองนะ” หรือ “ช่องทาง “กิ่วผาวอก” เพราะเป้าหมายอยู่ที่เชียงดาว ไม่ใช่เมืองหาง ซึ่งจะทำให้เสียเวลาเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3-4 วัน(ค่าเฉลี่ยเดินทัพได้วันละ 20 กม.) รวมทั้งเสียเสบียงเลี้ยงกองทัพไปเปล่าโดยไม่มีความจำเป็น ด้วยเหตุนี้กองทัพพระเจ้าบุเรงนองจึงไม่ผ่าน “เมืองหาง”


วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เส้นทางเดินทัพ สู่ เส้นทางการค้า

ทางสายไหม แห่งทศวรรษนี้ เชียงใหม่ เวียงแหง เมืองปั่น เมืองนาย สีป้อ แสนหวี หมู่แจ้ /รุ่ยลี่(ส่วยหลี)

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

ผังประตูเมืองหงสาวดี ยุคก่อนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ผังประตูเมืองหงสาวดี ยุคก่อนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ผังประตูเมืองหงสาวดี ยุคก่อนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระเจ้าบุเรงนอง)



วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

ตามรอยพระองค์ดำ หมายมุ่ง บุก อังวะ

ตามรอยพระองค์ดำ หมายมุ่ง บุก อังวะ

ตามรอยพระองค์ดำจนสุดแผ่นดินที่ เมืองคัง/Mogaung/Kawng รัฐคะฉิ่น พม่า
24-28 กุมภาพันธ์ 2559
กองพลทหารราบที่ 7
อำนวยการภารกิจ
ความสำคัญของ Mogaung

ดูได้จากถูกบันทึกไว้เป็นชื่อประตูเมืองหงสาฯ 1 ในจำนวน 20 ประตูเมืองเท่านั้น
โดยบันทึกไว้ด้านละ 5 ประตู
เช่นกำแพงเมืองด้านเหนือมีประตู โยเดีย(อยุธยา)

กำแพงเมืองด้านใต้
มีประตูเมืองคัง(gaung) 
ประตูเชียงใหม่
ประตูเมืองยิน
ประตูเมืองทวาย 
ประตูเมืององค์บอง เป็นต้น

Mogaung สำคัญอย่างไร?

เมืองนี้คือ ขุมทรัพย์อัญมณีล้ำค่า มีเหมือง "หยกคุณภาพสูง "
และมูลค่ามหาศาล
มหาอำนาจ พระเจ้าบุเรงนองต้องการตู้ ATM พระคลังมหาสมบัติเพื่อเลี้ยงกองทัพและราชสำนัก

โดย อ.ชัยยง ไชยศรี












วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

สรุปสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ปีเหตุการณ์
พ.ศ.2121คราวติดตามไปตีพระยาจีนจันตุ ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา
พ.ศ.2126เมื่อไปตี เมืองลุม เมืองคัง รัฐไทยใหญ่
พ.ศ.2127รบกับพม่า คราวทรงพระแสงปืนต้น ข้ามแม่น้ำสะโตง ถูกมังสุรกรรมาตาย
พ.ศ.2127สงคราไทยกับพม่า พม่ายกมา 130,000 ที่เมืองสุพรรณบุรี พระยาพะสิมยกมาทางสุพรรณบุรี พระเจ้าเชียงใหม่ ยกมาทางเหนือ ตีพม่่าแตกกลับไป
พ.ศ.2128สงครามไทยพม่า รบกับพระเจ้าเชียงใหม่ ที่บ้านสระเกศ พม่า 150,000 ไทย 80,000 ตีพม่าแตกกลับไป
พ.ศ.2129สงครามไทยพม่า คราวพม่า 250,000 ยกมาล้อมกรุง ไทยมีกำลัง 80,000 ตีพม่า ต้องถอยทัพภายใน 5 เดือน
พ.ศ.2133สงครามไทยพม่า คราวพระมหาอุปราชา ยกมาครั้งแรกที่สุพรรณบุรี พม่า 300,000 ไทย 80,000 พม่าแตกไป จับพระยาสิมได้ที่จรเข้สามพัน
พ.ศ.2135สงครามคราวยุทธหัตถี พม่า 250,000 ไทย 100,000
พ.ศ.2135สงครามเมือง ทะวาย ตะนาวศรี ไทย 100,000 ตีได้เมืองทะวาย ตะนาวศรี
พ.ศ.2136สงครามเมืองเขมร ไทย 130,000 เขมร 75,000 ได้เมืองเขมร
พ.ศ.2137สงครามไทยพม่า คราวไทยได้หัวเมืองมอญ
พ.ศ.2138สงครามไทยพม่า คราวไปตีเมืองหงสาวดี ครั้งที่ 1 ไม่สำเร็จ กำลังฝ่ายไทย 120,000
พ.ศ.2142สงครามไทยพม่า ยกไปตีเมืองหงสาวดีสำเร็จ ไทย 100,000 แล้วล้อม เมืองตองอู อยู่ 2 เดือน ต้องถอยทัพ
พ.ศ.2146พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ บันทึกว่า ทัพเจ้าฝ่ายหน้าเสด็จไปเอาเมืองขอมได้ ซึ่งตรงกับรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรฯ แต่ไม่ปรารกฏ ในพงศาวดาร แสดงว่าในรัชกาลของ สมเด็จพระนเรศวรฯ มีการไปตีเมืองเขมรถึง 2 ครั้ง... ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2136 ตามหลักฐานพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา
พ.ศ.2147สงครามครั้งสุดท้ายของ สมเด็จพระนเรศวรฯ ไทย 200,000 ยกไปตีเมืองอังวะ แต่เสด็จสวรรคตเสียก่อน

ผู้เขียน พลตรี ถวิล อยู่เย็น ชื่อหนังสือ สมเด็จพระนเรศวร มหาราช 400 ปี ของการครองราชย์ โดยคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย